เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารสำหรับครู
วันจันทร์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 8
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 8
1. การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์อย่างไร
ให้ผู้ชมเข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอ
ให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ
การนำเสนอผลงานโดยใช้โสตทัศนศึกษานั้นมีเหตุผลเบื้องลึกคื หลักจิตวิทยาการเรียนรู้ซึ่งได้มีการค้นพบจากนักวิจัยว่าการรับรู้ข้อมูลโดย ผ่านทางประสาทสัมผัสสองอย่างคือ ทั้งตาและหูพร้อมกัน
2. หลักการพื้นฐานสำคัญของการนำเสนอผลงานมีอะไรบ้าง
การดึงดูดความสนใจ
ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา
ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย
3. การบรรยายสดกับการพากย์มีข้อพิจารณาในการเลือกใช้ต่างกันอย่างไร
การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วมเพราะผู้บรรยายเป็นผู้รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดี
การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ ชม แต่ข้อเสียคือ ไม่มีความยืดหยุ่นไม่สามารถปรับให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น
4. เครื่องมือที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
การนำเสนอSlide presentation
1.1โดยใช้โปรแกรมpower point
1.2โดยใช้โปรแกรมproshow Gold
1.3โดยใช้โปรแกรมFlip Album
รูปแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
2.1การใช้โปรแกรมAuthorware
2.2การใช้ระบบจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์Moodle
5. รูปแบบที่ใช้ในการนำเสนอผลงานที่ใช้ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง
การนำเสนอแบบSlide presentation
การนำเสนอแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI)
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 7
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 7
1.จงอธิบายเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบต่างๆว่ามีกี่ประเภท
มีทั้งหมด 4 ประเภท
อินทราเน็ต เป็นเครือข่ายภายองค์กรหนึ่งๆ
เอ็กซ์ทราเน็ต ทั้งอินทราเน็ตและเอ็กซ์ทราเน็ตเป็นเครือข่ายส่วนบุคคลเนื่องจากมีเจ้าของ และเจ้าของเป็นผู้กำหนดว่าใครบ้างสามารถเป็นสมาชิกของเครือข่ายได้
รูปแบบของข้อมูลในเครือข่ายของคอมพิวเตอร์ประเภทต่างๆเครือข่ายของ คอมพิวเตอร์ทั้ง3ประเภทที่กล่าวมาเป็นเครือข่ายที่จัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุ ประสงค์ที่ต่างกัน
2.อินทราเน็ต (Imtarnet)หมายความว่าอย่างไร
เป็นเครือข่ายภายสำหรับองค์กรหนึ่งๆ ข้อมูลส่วนใหญ่จะเป็นข้อมูลเกี่ยวกับองค์กรหรือข้อมูลเพื่อการใช้ประโยขน์ ขององค์กร คอมพิวเตอร์ที่ต่อเชื่อมกับเครือข่ายอาจอยู่ภายในตึกเดียวกันหรือกระจายกัน อยู่ทั่วประเทศหรือทั่วโลก
3.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลการสืบค้นบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
http://www.google.com
http://www.altavista.com
http://www.excite.com
http://www.yahoo.com
4.จงอธิบายวิธีการสืบค้นข้อมูลจากเว็บไซต์Googleพอสังเขป
ให้พิมพิมพ์คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ต้องการค้นหาเพียง2-3คำลงไป แล้วกดแป้น Enter หรือคลิกที่ปุ่ม Go บหน้าจอ Google ก็จะแสดงเว็บเพจที่ต้องการค้นหา
5.Digital library หมายความว่าอย่างไร
(ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์) หมายถึง การจัดเก็บสารสนเทศในรูปของสื่ออิเล็กทรอนิกส์แทนที่จะจัดเก็บในรูปของสื่อ พิมพ์ ขณะนี้ได้เริ่มมีการใช้วิธีการเช่นนี้แล้ว แต่คงต้องรออีกนานทีเดียวกว่าห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์จะสามารถแทนที่ห้องสมุด แบบดั้งเดิม
6.จงยกตัวอย่างแหล่งข้อมูลเว็บไซต์ประเภทของการศึกษา
เว็บไซต์โครงการ SchoolInet@ 1509 (http://www.school.net.th) เกี่ยวข้องกับการศึกษาระดับต่ำกว่าอุดมศึกษา
เว็บไซต์ Learn Online (http://www.learn.in.th) ของสถาบันบัณฑิตวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีไทยเป็นเว็บสำหรับเรียนรู้ได้ด้วยตนเองผ่านเครือข่ายอิน เทอร์เน็ต เน้นสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในทุกระดับการศึกษา
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 6
คำถามท้ายหน่วยการเรียนที่ 6
1.อินเทอร์เน็ต (Internet)หมายความว่าอย่างไร
เครือข่ายนานาชาติหรือเครือข่ายสากล คือ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลเข้า ด้วยกันโดยปัจจุบันมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันอยู่มากมายกว่า 60 ล้านเครื่อง
2.จงอธิบายความสำคัญของอินเทอร์เน็ตทางด้านการศึกษาว่ามีอะไรบ้าง
มีความสำคัญดังนี้
สามารถใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาข้อมูลไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทางวิชาการ ข้อมูลด้านการบันเทิง ด้านการแพทย์ และอื่นๆที่น่าสนใจ
ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต จะทำหน้าที่เปรียบเสมือนเป็นห้องสมุดขนาดใหญ่
นักศึกษาสามารถใช้อินเทอร์เน็ตติดต่อกับมหาวิทยาลัยหรือโรงเรียนอื่นๆเพื่อ ค้นหาข้อมูลที่กำลังศึกษาอยู่ได้ ทั้งที่ข้อมูลที่เป็นข้อความเสียง ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ
3.จงบอกประโยชน์ของอินเทอร์เน็ตที่ใช้ในชีวิตประจำวัน
ด้านการศึกษา เช่น ใช้เป็นแหล่งค้นคว้าหาความรู้เป็นต้น
ด้านธุรกิจและการพาณิชย์ เช่น ค้นหาข้อมูลต่างๆเพื่อช่วยในการตัดสินใจทางธุรกิจ
ด้านการบันเทิง เช่น สามารถฟังวิทยุหรือดูรายการโทรทัศน์ได้ เป็นต้น
4.การติดต่อโดยใช้สายโทรศัพท์ผ่านอุปกรณ์ Modemหมายความว่าอย่างไร
อุปกรณ์แปลงสัญญารคอมพิวเตอร์ให้เป็นสัญญาณโทรศัพท์และแปลงสัญญาณโทรศัพท์ ให้เป็นสัญญาณคอมพิวเตอร์ หรืออุปกรณ์ในการแปลงสัญญาณแอนาล็อกผ่านสายโทรศัพท์ไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ ปลายทาง
5.ระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ต www มีประโยชน์อย่างไร
การให้บริการเวิลด์ไวด์เว็บ (world wied web หรือ www) เป็นบริการระบบข่าวสารที่มีข้อมูลอยู่ทุกแห่งในโลก ซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่านั้นสามารถอยู่ในหลายรูปแบบแตกต่างกัน เช่น เอกสารรูปภาพ ภาพเคลื่อนไหว และเสียง เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้สามารถเชื่อมโยงเป็นระบบสามารถสืบค้นได้ง่าย
6.จงยกตัวอย่างประโยชน์ของ E-mail
สามารถรับ-ส่ง จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-mail ซึ่งจดหมายเหล่านี้จะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตไปถึงผู้รับไม่ว่าอยู่ ที่ใดในโลกอย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที
คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์และระบบคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ หมายถึง เครื่องมือหรืออุปกรณ์ประเภทอิเล็กทรอนิกส์ที่ทำงานด้วยคำสั่ง ชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมต่างๆ สามารถเชื่อมต่อกันเป็นเครือข่ายได้หลายแบบ ลักษณะเด่นของคอมพิวเตอร์คือมีศักยภาพสูงในการคำนวณประมวลผลข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเลข รูปภาพ ตัวอักษร และเสียง
ส่วนประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์
คอมพิวเตอร์ฮาร์ดแวร์
หมายถึง ส่วนที่ประกอบเป็นเครื่องคอมพิวเตอร์ แบ่งออกเป็น 5 ส่วนคือ
ส่วนที1หน่วยรับข้อมูลเข้า (Input Unit)
เป็นวัสดุอุปกรณ์ที่นำมาเชื่อมต่อ ทำหน้าที่ป้อนสัญญาณเข้าสู่ระบบ เพื่อกำหนดให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามความต้องการ ได้แก่
- แป้นอักขระ (Keyboard)
-แผ่นซีดี (CD-Rom)
-ไมโครโฟน (Microphone) เป็นต้น
ส่วนที2 หน่วยประมวลผลกลาง
(Central Processing Unit)
ทำหน้าที่เกี่ยวกับการคำนวณทั้งทางตรรกะและคณิตศาสตร์ รวมถึงการประมวลข้อมูลตามคำสั่งที่ได้รับ
ส่วนที่3 หน่วยความจำ (Memory Unit)
ทำหน้าที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่งที่ส่งมาจากหน่วยรับข้อมูลเพื่อเตรียมส่งไปประมวลผลยังหน่วยประมวลผลกลาง และเก็บผลลัพธ์ที่ได้จาการประมวลผลแล้วเพื่อเตรียมส่งไปยังหน่วยแสดงผล
ส่วนที่4 หน่วยแสดงผล (Output Unit)
ทำหน้าที่แสดงข้อมูลที่คอมพิวเตอร์ทำการประมวลผล หรือผ่านการคำนวณแล้ว
ส่วนที่5 อุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ
(Peripheral Equipment)
เป็นอุปกรณ์ที่นำมาต่อพ่วงเข้ากับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานให้มากยิ่งขึ้น เช่น โมเด็ม (modem) แผงวงจรเชื่อมต่อ เครือข่าย เป็นต้น
ประโยชน์ของคอมพิวเตอร์
1. มีความเร็วในการทำงานสูง สามารถประมวลผลคำสั่งได้รวดเร็วเพียงชั่ววินาที จึงใช้ในงานคำนวณต่างๆได้อย่างรวดเร็ว
2. มีประสิทธิภาพในการทำงานสูง ทำงานได้ตลอด 24 ชั่งโมง ใช้แทนกำลังคนได้มาก
3. มีความถูกต้องแม่นยำ ตามโปรแกรมสั่งงานและข้อมูลที่ใช้
4. เก็บข้อมูลได้มาก ไม่เปลืองเนื้อที่เก็บเอกสาร
5. สามารถโอนย้ายข้อมูลจากเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งผ่านระบบเครือข่ายได้อย่างรวดเร็ว ช่วยอำนวยความสะดวกในการใช้งาน
ระบบคอมพิวเตอร์
หมายถึง กรรมวิธีที่คอมพิวเตอร์ทำการใดๆ กับข้อมูลให้อยู่ในรูปแบบที่เป็นประโยชน์ตามความประสงค์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด เช่น ระบบเสียภาษี ระบบทะเบียนราษฎร์ ระบบทะเบียนการค้า ระบบเวชระเบียนของโรงพยาบาล เป็นต้น
การเข้าถึงข้อมูลเหล่านี้สามารถเข้าถึงได้โดยการตรวจสอบจากการประมวลผลของระบบคอมพิวเตอร์จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
องค์ประกอบของระบบคอมพิวเตอร์
ระบบคอมพิวเตอร์ที่สามารถทำงานอย่างมีประสิทธิภาพจะประกอบด้วยส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
ฮาร์ดแวร์ (Hardware)
หมายถึง ตัวเครื่องและอุปกรณ์ส่วนต่างๆที่เราสามารถสัมผัสและจับต้องได้ ฮาร์ดแวร์ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 4 ส่วน ดังนี้คือ
1.ส่วนประมวลผล (Processor)
2.ส่วนความจำ (Memory)
3.อุปกรณ์รับเข้าและส่งออก (Input-Output
Devices)
4.อุปกรณ์หน่วยเก็บข้อมูล (Storage Device)
ส่วนที่1 CPU
CPU เป็นอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่เปรียบเสมือนสมอง
มีหน้าที่หลักในการควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ ประมวลผลและเปรียบเทียบข้อมูล โดยทำการเปลี่ยนแปลงข้อมูลดิบและแปลงให้เป็นสารสนเทศที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ความสามารถของ ซีพียู นั้น พิจารณาจากความเร็วของการทำงาน การรับส่งข้อมูล อ่านและเขียนข้อมูลในหน่วยความจำ ความเร็วของซีพียูขึ้นอยู่กับตัวให้จังหวะที่เรียกว่า สัญญาณนาฬิกา เป็นความเร็วของจำนวนรอบสัญญาณใน 1 วินาที มีหน่วยเป็น เฮิร์ตซ์(Hertz)เช่น สัญญาณความเร็ว 1 ล้านรอบใน 1 วินาที เทียบเท่าความเร็วสัญญาณนาฬิกา 1 จิกะเฮิร์ตซ์ (1GHz)
ส่วนที่2 หน่วยความจำ (Memory)
จำแนกออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
2. หน่วยความจำสำรอง (Secondary Storage)
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory)
เป็นหน่วยเก็บข้อมูลและคำสั่งต่างๆของเครื่องคอมพิวเตอร์ ประกอบด้วย
ชุดความจำข้อมูลที่สามารถบอกตำแหน่งที่เก็บข้อมูลหรือคำสั่ง ข้อมูลจะถูกนำไปเก็บไว้และสามารถนำออกมาใช้ในการประมวลผลภายหลัง โดยCPUทำหน้าที่ในการนำข้อมูลเข้าและนำออกจากหน่วยความจำ
1. หน่วยความจำหลัก (Main Memory) ต่อ
การทำงานของคอมพิวเตอร์ ต้องใช้พื้นที่
ของหน่วยความจำในการทำงานประมวลผล
และเก็บข้อมูล ขนาดของความจุของหน่วย
ความจำ คำนวณได้จากค่าจำนวนพื้นที่ที่
สามารถใช้ในการเก็บข้อมูล จำนวนพื้นที่คือ
จำนวนข้อมูล และขนาดของโปรแกรมที่สามารถ
เก็บข้อมูลได้สูงสุด พื้นที่หน่วยความจำมีมากจะ
ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานได้เร็วมากยิ่งขึ้น
หน่วยประมวลผลกลาง (CPU)
หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU มี
ความหมายทางด้านฮาร์ดแวร์ 2 อย่าง คือ
ชิป (chip) ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์
2. ตัวกล่องเครื่องที่มี CPU บรรจุอยู่
1.หน่วยความจำหลัก
แบ่งได้ 2 ประเภทคือ หน่วยความจำแบบ “แรม” (RAM)และหน่วยความจำแบบ”รอม”(ROM)
1.1 หน่วยความจำแบบ “แรม”
(RAM=Random Access Memory)
เป็นหน่วยความจำที่ต้องอาศัยกระแสไฟฟ้าเพื่อรักษาข้อมูล ข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลจะถูกเก็บไว้ชั่วคราวขณะทำงาน ข้อมูลที่อยู่ในหน่วยความจำจะอยู่ได้นานจนกว่าจะปิดเครื่อง หรือไม่มีกระแสไฟฟ้าป้อนให้กับเครื่อง เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบลบเลือนได้ (Volatile Memory)
ลักษณะของหน่วยความจำ RAM
1.2 หน่วยความจำแบบ “รอม” (ROM=Read Only Memory) เป็นหน่วยความจำที่ใช้เก็บโปรแกรมหรือข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ ข้อมูลที่ถาวรไม่ขึ้นกับไฟฟ้าที่ป้อนให้กับวงจร ยอมให้ซีพียูอ่านข้อมูลหรือโปรแกรมไปใช้งานอย่างเดียว ไม่สามารถเขียนข้อมูลลงไปเก็บไว้ได้โดยง่าย ส่วนใหญ่ใช้เก็บโปรแกรมควบคุม เราเรียกหน่วยความจำประเภทนี้ว่า หน่วยความจำแบบไม่ลบเลือน (Nonvolatile Memory)
ชิปหน่วยความจำแบบรอม (ROM Chip)
หน่วยความจำสำรอง (Secondary Memory Unit)
หน่วยความจำสำรอง หรือหน่วยเก็บข้อมูลรอง เป็นหน่วย
เก็บที่สามารถรักษาข้อมูลได้ตลอดไปหลังจากปิดเครื่อง
คอมพิมเตอร์แล้ว
หน่วยความจำรองมีหน้าที่หลักคือ
1.ใช้ในการเก็บข้อมูลหรือสำรองข้อมูลเพื่อใช้ในอนาคต
2.ใช้ในการเก็บข้อมูล โปรแกรมไว้อย่างถาวร
3.ใช้เป็นสื่อในการส่งผ่านข้อมูลระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง
ประโยชน์ของหน่วยความจำสำรอง
หน่วยความจำรองจะช่วยแก้ปัญหาการสูญหายของข้อมูล
อันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับเพราะข้อมูลต่างๆที่ส่งเข้ามา
ประมวลผล เมื่อเรียบร้อยแล้ว ผลลัพธ์ที่ได้จะถูกนำไปเก็บใน
ความจำหลักประเภทแรม หากปิดเครื่องหรือมีปัญหาทาง
ไฟฟ้า อาจทำให้ข้อมูลสูญหายจึงจำเป็นต้องมีหน่วยความจำ
รอง เพื่อนำข้อมูลจากหน่วยความจำแรมมาเก็บไว้ใช้งานใน
ครั้งต่อไป หน่วยความจำประเถทนี้ส่วนใหญ่จะพบในรูปของ
สื่อที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลภายนอก เช่น ฮาร์ดดิสก์ แผ่น
บันทึก ชิปดิสก์ ซีดีรอม ดีวีดี เทปแม่เหล็ก หน่วยความจำ
แบบแฟลช หน่วยความจำรองนี้ ถึงจะไม่มีอยู่ในเครื่อง
คอมพิวเตอร์ แต่เครื่องคอมพิวเตอร์ก็ยังสามารถทำงานได้
ปกติ
ส่วนแสดงผลข้อมูล
ส่วนแสดงผลข้อมูล คือส่วนที่แสดงข้อมูล
จากสัญญาณไฟฟ้าในหน่วยประมวลผลกลาง
ให้เป็นรูปแบบที่คนเราสามารถเข้าใจได้ อุปกรณ์
ที่แสดงผลข้อมูลได้แก่ จอภาพ (Monitor)
เครื่องพิมพ์( Printer)เครื่องพิมพ์ภาพ Ploter
และ ลำโพง (Speaker) เป็นต้น
จอภาพ(Monitor)
เครื่องพิมพ์ (Printer)
ลำโพง(Speaker)
บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ หมายถึง คนที่มี
ความรู้ความสามารถในการใช้หรือควบคุมให้
การใช้คอมพิวเตอร์เป็นไปอย่างราบรื่น
อาจจะประกอบด้วยคนเพียงคนเดียว หรือ
หลายคนช่วยกันรับผิดชอบโครงสร้างของ
หน่วยงานคอมพิวเตอร์
ประเภทของบุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (PEOPLEWARE)
1. ฝ่ายวิเคราะห์และออกแบบระบบงาน 2. ฝ่ายเกี่ยวกับโปรแกรม 3. ฝ่ายปฏิบัติงานเครื่องและบริการ
บุคลากรในหน่วยงานคอมพิวเตอร์
1. หัวหน้าหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (EDP Manager) 2. หัวหน้าฝ่ายวิเคราะห์และวางแผนระบบงาน (System Analyst หรือ SA) 3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer) 4. ผู้ควบคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ (Computer Operator) 5. พนักงานจัดเตรียมข้อมูล (Data Entry Operator)
นักวิเคราะห์ระบบงาน
ทำการศึกษาระบบงานเดิม ออกแบบระบบงานใหม่
โปรแกรมเมอร์
นำระบบงานใหม่ที่นักวิเคราะห์ระบบออกแบบไว้มาสร้างเป็นโปรแกรม
วิศวกรระบบ
ทำหน้าที่ออกแบบ สร้าง ซ่อมบำรุง และดูแลรักษาฮาร์ดแวร์คอมพิวเตอร์ให้สามารถทำงานได้ตามต้องการ
พนักงานปฏิบัติการ
ทำหน้าที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ หรือภารกิจประจำวัน ที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์
อาจแบ่งประเภทของบุคลากรคอมพิวเตอร์
เป็นระดับต่างๆได้ 4 ระดับดังนี้
1. ผู้จัดการระบบ (System Manager)
คือ ผู้วางนโยบายการใช้คอมพิวเตอร์ให้เป็นไปตามเป้าหมายของหน่วยงาน
2. นักวิเคราะห์ระบบ (System Analyst)
คือ ผู้ที่ศึกษาระบบงานเดิมหรืองานใหม่และทำการวิเคราะห์ความเหมาะสม ความเป็นไปได้ในการใช้คอมพิวเตอร์กับระบบงาน เพื่อให้โปรแกรมเมอร์เป็นผู้
เขียนโปรแกรมให้กับระบบงาน
3. โปรแกรมเมอร์ (Programmer)
คือ ผู้เขียนโปรแกรมสั่งงานเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อให้ทำงานตามความต้องการของผู้ใช้ โดยเขียนตามแผนผังที่นักวิเคราะห์ระบบได้เขียนไว้
4. ผู้ใช้ (User)
คือ ผู้ใช้งานคอมพิวเตอร์ทั่วไป ซึ่งต้องเรียนรู้วิธีการใช้เครื่อง และวิธีการใช้งานโปรแกรม เพื่อให้โปรแกรมที่มีอยู่สามารถทำงานได้ตามที่ต้องการ
งานที่มอบหมายให้ทำ (Assignment)
Internet
Internet คืออะไร
Internet คือ ระบบเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั่วโลกเข้า
ด้วยกันโดยใช้ protocol มาตรฐานสำหรับinternet (IP) เพื่อบริการ
แก่ผู้ใช้จำนวนหลายพันล้านคนทั่วโลก เป็นเครือข่ายของเครือข่ายทั้งหลาย
(network of networks)
ความสำคัญของ internet ในการศึกษา
-เป็นขุมคลังอันมหึมาของสารสนเทศ
-มีข่าวสารข้อมูลใน Internet ให้เข้าถึงได้แบบ online / สามารถเข้าถึงสารสนเทศในเวลาใดเวลาหนึ่งได้
-แหล่งทรัพยากรสารสนเทศ online ที่ใหญ่ที่สุดก็คือ encyclopedia ที่ใครก็สามารถเข้าถึงสารสนเทศonline นี้ ได้ตามที่ต้องการ
ISP หรือ Internet Service Provider
: หน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
ทำหน้าที่เสมือนประตูเปิดการเชื่อมต่อให้บุคคลหรือองค์กรสามารถใช้อินเทอร์เน็ตได้
หน่วยงานที่ให้บริการเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทยมี 2 ประเภท
1. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ (commercial ISP)
2. ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตสำหรับสถาบันการศึกษา การวิจัยและหน่วยงานของรัฐ(non- commercial ISP)
การเชื่อมต่อของอินเทอร์เน็ต
ผ่าน ISP โดยมีอุปกรณ์เชื่อมต่อที่เหมาะสมในการแปลงสัญญาณผ่านสื่อที่จะใช้แต่ละประเภท
วิธีที่1 ต่อผ่านสายโทรศัพท์ธรรมดา โดยมีโมเด็ม(modem)ที่ต่อกับคอมพิวเตอร์แล้วต่อเข้ากับสายโทรศัพท์
ถ้าเป็นสายISDN (Integrated Services Digital Network)ต้องใช้โมเด็ม ISDN โดยเฉพาะ
วิธีที่2 ต่อด้วยอินเทอร์เน็ตความเร็วสูง ที่เรียกว่า ADSL หรือบรอดแบรนด์ โดยใช้โมเด็มชนิด ADSL ที่ต่อคอมพิวเตอร์เข้ากับสายโทรศัพท์ แต่จะรับส่งสัญญาณในสายคนละแบบคนละความถี่กัน ซึ่งจะทำให้ได้ความเร็วสูงขึ้นกว่าโมเด็มธรรมดา และต้องอาศัยอุปกรณ์พิเศษที่ชุมสายจึงจะใช้ได้
เมื่อเชื่อมต่อกับระบบโทรศัพท์ได้แล้ว ก็หมุนหมายเลขโทรศัพท์ปลายทางไปยัง ISP เรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า Dial- Up
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)